ในค่ายอาสา จะมีกรรมการอยู่หนึ่งฝ่าย เรียกว่าผู้รักษาเวลา
เขาคนนี้จะมีหน้าที่รักษาเวลาให้กับชาวค่าย
โดยการใช้นกหวีดเป่าให้ชาวค่ายทุกคนได้ยิน
เป็นการเตือนชาวค่ายว่าถึงเวลาทำกิจกรรมนั้นๆแล้ว
และเป็นบอกเวลาชาวค่ายไปในตัว
ครั้งหนึ่งในวงประชุมเช้า
มีพี่ค่ายคนหนึ่งเสนอให้พวกเราชาวค่าย
ปลดปล่อยตัวเองออกจากพันธนาการของเวลา
เพราะไหนๆก็มาค่ายแล้ว
ลองไม่สนใจเวลาดูบ้าง
ถอดนาฬิกาข้อมือออกเสีย
ปล่อยตัวเองให้หลุดพ้นจากกรอบของเวลา
ที่คอยบังคับให้เราต้องทำโน่นทำนี่ตามกำหนดการประจำวัน
แล้วทำตามผู้รักษาเวลา เมื่อผู้รักษาเวลาให้สัญญาณ
เมื่อได้ยินดังนั้น น้องๆชาวค่ายก็ประทับใจ
จึงลองทำตาม แล้วก็รู้สึกดีๆกับการไม่ต้องคอยมองดูนาฬิกา
อย่างที่เคยทำในชีวิตประจำวัน
จนกระทั่งเวลาผ่านไป
ความที่พี่ๆค่ายอยากให้น้องค่ายรู้สึกดีๆแบบที่ตัวเองเคยรู้สึกบ้าง
จึงบอกกับน้องค่ายใหม่
ว่าให้ถอดนาฬิกาข้อมือออก จะได้ไม่ต้องดูเวลา
แล้วจะรู้สึกสบายใจ
โดยลืมไป ถึงเหตุผลที่แท้จริงที่นำมาซึ่งความสบายใจนั้นๆ
และกลับกลายเป็นว่าพี่ค่ายบางส่วนเข้าใจว่า
การไม่ใส่นาฬิกาข้อมือ เป็นการกระทำเพื่อให้เวลาของผู้รักษาเวลนั้น
เป็นเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์
มีเฉพาะผู้รักษาเวลาเท่านั้นที่รู้เวลาที่แท้จริง
เมื่อผู้รักษาเวลาบอกเวลา จะได้ไม่มีใครโต้เถียง
จะเห็นได้ว่า ปัญหาที่เกิดคือความหวังดีที่เปี่ยมล้นของพี่ค่าย
ที่อยากให้น้องค่ายให้รับสิ่งดีๆที่ตนได้รับ
จนลืมกระบวนการของการคิดพิจารณาว่าจะให้ได้สิ่งดีๆนั้นอย่างไร
และอย่างที่สองคือความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์
ความศักดิ์สิทธิ์ของเวลาในค่ายอาสานั้น
ไม่ได้มาจากการห้ามคนพูดถึง
ไม่ได้มาจากการจำกัดข้อมูล
ไม่ได้มาจากการห้ามคนอื่นล่วงรู้ความจริง
และไม่ได้มาจากการบังคับไม่ให้รู้ความจริง
แต่มาจากความเชื่อถือ ความมั่นใจในตัวผู้รักษาเวลา
ว่ากำลังรักษาเวลาเพื่อคนทั้งค่าย
เพื่อให้กิจกรรมต่างๆภายในค่ายสามารถดำเนินไปได้ลุล่วง
ถึงแม้บางครั้งผู้รักษาเวลาอาจจะเป่านกหวีดเลยเวลาที่ตกลงกันไปบ้าง
แต่กระทำนั้นย่อมมีข้ออธิบายได้เสมอ
เพราะทำไปเพื่อประโยชน์ของทุกคนภายในค่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น