http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P7762307/P7762307.html
http://www.economist.com/world/asia/displaystory.cfm?story_id=13496103
http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/8012145.stm
วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552
นาฬิกา และความศักดิ์สิทธิ์
ในค่ายอาสา จะมีกรรมการอยู่หนึ่งฝ่าย เรียกว่าผู้รักษาเวลา
เขาคนนี้จะมีหน้าที่รักษาเวลาให้กับชาวค่าย
โดยการใช้นกหวีดเป่าให้ชาวค่ายทุกคนได้ยิน
เป็นการเตือนชาวค่ายว่าถึงเวลาทำกิจกรรมนั้นๆแล้ว
และเป็นบอกเวลาชาวค่ายไปในตัว
ครั้งหนึ่งในวงประชุมเช้า
มีพี่ค่ายคนหนึ่งเสนอให้พวกเราชาวค่าย
ปลดปล่อยตัวเองออกจากพันธนาการของเวลา
เพราะไหนๆก็มาค่ายแล้ว
ลองไม่สนใจเวลาดูบ้าง
ถอดนาฬิกาข้อมือออกเสีย
ปล่อยตัวเองให้หลุดพ้นจากกรอบของเวลา
ที่คอยบังคับให้เราต้องทำโน่นทำนี่ตามกำหนดการประจำวัน
แล้วทำตามผู้รักษาเวลา เมื่อผู้รักษาเวลาให้สัญญาณ
เมื่อได้ยินดังนั้น น้องๆชาวค่ายก็ประทับใจ
จึงลองทำตาม แล้วก็รู้สึกดีๆกับการไม่ต้องคอยมองดูนาฬิกา
อย่างที่เคยทำในชีวิตประจำวัน
จนกระทั่งเวลาผ่านไป
ความที่พี่ๆค่ายอยากให้น้องค่ายรู้สึกดีๆแบบที่ตัวเองเคยรู้สึกบ้าง
จึงบอกกับน้องค่ายใหม่
ว่าให้ถอดนาฬิกาข้อมือออก จะได้ไม่ต้องดูเวลา
แล้วจะรู้สึกสบายใจ
โดยลืมไป ถึงเหตุผลที่แท้จริงที่นำมาซึ่งความสบายใจนั้นๆ
และกลับกลายเป็นว่าพี่ค่ายบางส่วนเข้าใจว่า
การไม่ใส่นาฬิกาข้อมือ เป็นการกระทำเพื่อให้เวลาของผู้รักษาเวลนั้น
เป็นเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์
มีเฉพาะผู้รักษาเวลาเท่านั้นที่รู้เวลาที่แท้จริง
เมื่อผู้รักษาเวลาบอกเวลา จะได้ไม่มีใครโต้เถียง
จะเห็นได้ว่า ปัญหาที่เกิดคือความหวังดีที่เปี่ยมล้นของพี่ค่าย
ที่อยากให้น้องค่ายให้รับสิ่งดีๆที่ตนได้รับ
จนลืมกระบวนการของการคิดพิจารณาว่าจะให้ได้สิ่งดีๆนั้นอย่างไร
และอย่างที่สองคือความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์
ความศักดิ์สิทธิ์ของเวลาในค่ายอาสานั้น
ไม่ได้มาจากการห้ามคนพูดถึง
ไม่ได้มาจากการจำกัดข้อมูล
ไม่ได้มาจากการห้ามคนอื่นล่วงรู้ความจริง
และไม่ได้มาจากการบังคับไม่ให้รู้ความจริง
แต่มาจากความเชื่อถือ ความมั่นใจในตัวผู้รักษาเวลา
ว่ากำลังรักษาเวลาเพื่อคนทั้งค่าย
เพื่อให้กิจกรรมต่างๆภายในค่ายสามารถดำเนินไปได้ลุล่วง
ถึงแม้บางครั้งผู้รักษาเวลาอาจจะเป่านกหวีดเลยเวลาที่ตกลงกันไปบ้าง
แต่กระทำนั้นย่อมมีข้ออธิบายได้เสมอ
เพราะทำไปเพื่อประโยชน์ของทุกคนภายในค่าย
เขาคนนี้จะมีหน้าที่รักษาเวลาให้กับชาวค่าย
โดยการใช้นกหวีดเป่าให้ชาวค่ายทุกคนได้ยิน
เป็นการเตือนชาวค่ายว่าถึงเวลาทำกิจกรรมนั้นๆแล้ว
และเป็นบอกเวลาชาวค่ายไปในตัว
ครั้งหนึ่งในวงประชุมเช้า
มีพี่ค่ายคนหนึ่งเสนอให้พวกเราชาวค่าย
ปลดปล่อยตัวเองออกจากพันธนาการของเวลา
เพราะไหนๆก็มาค่ายแล้ว
ลองไม่สนใจเวลาดูบ้าง
ถอดนาฬิกาข้อมือออกเสีย
ปล่อยตัวเองให้หลุดพ้นจากกรอบของเวลา
ที่คอยบังคับให้เราต้องทำโน่นทำนี่ตามกำหนดการประจำวัน
แล้วทำตามผู้รักษาเวลา เมื่อผู้รักษาเวลาให้สัญญาณ
เมื่อได้ยินดังนั้น น้องๆชาวค่ายก็ประทับใจ
จึงลองทำตาม แล้วก็รู้สึกดีๆกับการไม่ต้องคอยมองดูนาฬิกา
อย่างที่เคยทำในชีวิตประจำวัน
จนกระทั่งเวลาผ่านไป
ความที่พี่ๆค่ายอยากให้น้องค่ายรู้สึกดีๆแบบที่ตัวเองเคยรู้สึกบ้าง
จึงบอกกับน้องค่ายใหม่
ว่าให้ถอดนาฬิกาข้อมือออก จะได้ไม่ต้องดูเวลา
แล้วจะรู้สึกสบายใจ
โดยลืมไป ถึงเหตุผลที่แท้จริงที่นำมาซึ่งความสบายใจนั้นๆ
และกลับกลายเป็นว่าพี่ค่ายบางส่วนเข้าใจว่า
การไม่ใส่นาฬิกาข้อมือ เป็นการกระทำเพื่อให้เวลาของผู้รักษาเวลนั้น
เป็นเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์
มีเฉพาะผู้รักษาเวลาเท่านั้นที่รู้เวลาที่แท้จริง
เมื่อผู้รักษาเวลาบอกเวลา จะได้ไม่มีใครโต้เถียง
จะเห็นได้ว่า ปัญหาที่เกิดคือความหวังดีที่เปี่ยมล้นของพี่ค่าย
ที่อยากให้น้องค่ายให้รับสิ่งดีๆที่ตนได้รับ
จนลืมกระบวนการของการคิดพิจารณาว่าจะให้ได้สิ่งดีๆนั้นอย่างไร
และอย่างที่สองคือความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์
ความศักดิ์สิทธิ์ของเวลาในค่ายอาสานั้น
ไม่ได้มาจากการห้ามคนพูดถึง
ไม่ได้มาจากการจำกัดข้อมูล
ไม่ได้มาจากการห้ามคนอื่นล่วงรู้ความจริง
และไม่ได้มาจากการบังคับไม่ให้รู้ความจริง
แต่มาจากความเชื่อถือ ความมั่นใจในตัวผู้รักษาเวลา
ว่ากำลังรักษาเวลาเพื่อคนทั้งค่าย
เพื่อให้กิจกรรมต่างๆภายในค่ายสามารถดำเนินไปได้ลุล่วง
ถึงแม้บางครั้งผู้รักษาเวลาอาจจะเป่านกหวีดเลยเวลาที่ตกลงกันไปบ้าง
แต่กระทำนั้นย่อมมีข้ออธิบายได้เสมอ
เพราะทำไปเพื่อประโยชน์ของทุกคนภายในค่าย
วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552
โลกแห่งความไม่แน่นอน
ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่งความไม่แน่นอน
โลกที่ไม่สามารถบอกอะไรๆได้แน่นอน
ไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรถูก
ไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรผิด
โลกแห่งความคลุมเครือ
ที่ที่ทุกคนต่างก็ไม่อยากจะให้คำตอบชัดเจน
ทั้งๆที่คำถามเหล่านั้นก็มีคำตอบที่ชัดเจนอยู่ในตัวเอง
ครั้งหนึ่งความขี้เกียจเคยเป็น 1 ในบาป 7 ประการ
แต่ในโลกแห่งความไม่แน่นอน
ความขี้เกียจอาจจะเป็นเรื่องถูกหรือผิดก็ได้
ก็เพราะเขาเป็นคนแบบนี้ ช่วยไม่ได้
ก็คนเรามันมีเป้าหมายของชีวิตแตกต่างกัน
ก็เขามีอายุแล้ว ผ่านโลกมามากแล้ว ให้เขาได้พักเถอะ...
ครั้งหนึ่ง เคยเชื่อกันว่าหมอ พระ ครู เป็นผู้ใจบุญ
เป็นผู้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ครบพรหมวิหารสี่
แต่ในโลกแห่งความไม่แน่นอน
คนเหล่านี้เป็นได้ตั้งแต่เทวทูตจนถึงซาตาน
ขึ้นอยู่กับดวงของท่านว่าจะเจอแบบไหน...
ครั้งหนึ่งมีคนเอานิ้วชื้ไปที่สิ่งต่างๆแล้วบอกว่า สิ่งนั้นผิด สี่งนี้ถูก
เพราะอย่างนั้น เพราะอย่างนี้
แต่ทุกวันนี้ ในโลกแห่งความไม่แน่นอน
ไม่มีใครเชื่อเขาอีกแล้ว
และต่างคนก็เหตุผลต่างกันไป
ว่าเพราะอย่างนี้ อย่างนั้น
สิ่งนั้นจึงผิด และสิ่งนี้จึงถูก...
โลกที่ไม่สามารถบอกอะไรๆได้แน่นอน
ไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรถูก
ไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรผิด
โลกแห่งความคลุมเครือ
ที่ที่ทุกคนต่างก็ไม่อยากจะให้คำตอบชัดเจน
ทั้งๆที่คำถามเหล่านั้นก็มีคำตอบที่ชัดเจนอยู่ในตัวเอง
ครั้งหนึ่งความขี้เกียจเคยเป็น 1 ในบาป 7 ประการ
แต่ในโลกแห่งความไม่แน่นอน
ความขี้เกียจอาจจะเป็นเรื่องถูกหรือผิดก็ได้
ก็เพราะเขาเป็นคนแบบนี้ ช่วยไม่ได้
ก็คนเรามันมีเป้าหมายของชีวิตแตกต่างกัน
ก็เขามีอายุแล้ว ผ่านโลกมามากแล้ว ให้เขาได้พักเถอะ...
ครั้งหนึ่ง เคยเชื่อกันว่าหมอ พระ ครู เป็นผู้ใจบุญ
เป็นผู้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ครบพรหมวิหารสี่
แต่ในโลกแห่งความไม่แน่นอน
คนเหล่านี้เป็นได้ตั้งแต่เทวทูตจนถึงซาตาน
ขึ้นอยู่กับดวงของท่านว่าจะเจอแบบไหน...
ครั้งหนึ่งมีคนเอานิ้วชื้ไปที่สิ่งต่างๆแล้วบอกว่า สิ่งนั้นผิด สี่งนี้ถูก
เพราะอย่างนั้น เพราะอย่างนี้
แต่ทุกวันนี้ ในโลกแห่งความไม่แน่นอน
ไม่มีใครเชื่อเขาอีกแล้ว
และต่างคนก็เหตุผลต่างกันไป
ว่าเพราะอย่างนี้ อย่างนั้น
สิ่งนั้นจึงผิด และสิ่งนี้จึงถูก...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)