ปีนี้ได้ไปค่ายอาสาน้อยวันมากๆ
ไปแค่สองวันคือวันเสาร์อาทิตย์ที่ไม่ได้อยู่เวร
งานที่ทำก็คืองานปาดปูนตามเดิม
ทั้งๆที่จริงๆแล้วก็ไม่ได้เชี่ยวชาญขนาดนั้น
แต่ ณ ขณะนี้ก็เหลือคนทำเป็นไม่กี่คน......
อาจารย์ที่ปรึกษาท่านหนึ่งเคยให้ความเห็นว่า
การไปค่ายอาสาเป็นการทดสอบสมมติฐาน....
สมมติฐานที่มีอยู่ว่า
นักศึกษาจะสามารถฝึกตนให้เป็นคนที่มีคุณภาพมากขึ้นได้หรือไม่
โดยการทำงานชิ้นหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ
คือ การสร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียนแห่งหนึ่ง
ตัวช่วยที่ใช้ในการฝึกฝนตัวหนึ่ง
คือ กฎค่าย
กฎค่ายของค่ายอาสานั้นมีสภาพไม่เหมือนกฎหมาย
เป็นเพียงกฎเกณฑ์ที่ไม่มี"สภาพบังคับ"
เป็นการกำหนดให้ชาวค่ายทำหรือไม่ทำบางอย่าง
แต่ก็ไม่ได้กำหนดบทลงโทษเอาไว้
ว่าถ้าไม่ทำตาม ผลจะเป็นอย่างไร
มาตรการที่ดูเหมือนจะเป็นบทลงโทษอย่างเดียว
ก็คือ การเชิญออกจากค่าย (ให้กลับบ้าน)
แต่ในความเป็นจริงกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะเป็นบทลงโทษข้อนี้
ก็ไม่มีการใช้อย่างจริงจังหรือเป็นกิจลักษณะ
เคยมีการยกประเด็นนี้ขึ้นสอบถามในที่ประชุม
ว่าการที่กฎค่ายไม่ได้กำหนดบทลงโทษไว้
ทำให้กฎค่ายนั้นมีสภาวะที่"เป็นหมัน"
คือ มีก็เหมือนไม่มี ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามนั้นได้...
ทำไมกฎค่ายจึงไม่มีบทลงโทษ ?
เหตุผล คือ กลุ่มอาสาฯเชื่อในความเป็นมนุษย์
มนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นสังคม
ย่อมต้องมีการกำหนดข้อตกลงบางอย่างขึ้นมา
เพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตของแต่ละคน
ตกลงกันว่าจะรับประทานอาหารในเวลา 7.00, 12.00 และ 18.00
เพื่อให้ทุกคนได้ข้าว
ตกลงกันว่าจะใช้น้ำอย่างจำกัด
เพื่อให้ทุกคนมีน้ำใช้
ตกลงกันว่าจะไม่ออกไปนอกค่าย
เพื่อความปลอดภัย
กฎเกณฑ์แต่ข้อ มีเหตุผลในการดำรงคงอยู่ของมัน
มนุษย์สามารถรับรู้เหตุผล สามารถเข้าถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
เล็งเห็นได้ว่าการปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์
จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ที่จะมากำหนดสภาพบังคับ
บังคับให้ชาวค่ายต้องปฏิบัติตามกฎนั้นๆ
การกำหนดให้ชาวค่ายต้องปฏิบัติตามกฎค่าย
ทั้งๆที่กฎค่ายก็ไม่ได้กำหนดบทลงโทษ
เป็นการฝึกฝนชาวค่ายทำตามกฎเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
ไม่ใช่ทำตามกฎเพียงเพราะว่ามันเป็นกฎ....
เพื่อให้การฝึกฝนดังกล่าวบรรลุผล
กฎค่ายจึงต้องมีลักษณะ
๑ สามารถปฏิบัติตามได้โดยไม่ลำบาก
๒ มีเหตุผลมารับรองประโยชน์ที่ได้จากการทำตาม
๓ กรรมการค่ายเข้าใจและยอมรับกฎข้อนั้น สามารถอธิบายเนื้อหาสาระของกฎนั้นให้ชาวค่ายใหม่เข้าใจได้
ข้อความคิดว่าด้วยกฎค่าย
ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอาสาฯมาหลายปี.....
วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สิ่งที่ได้จากค่ายอาสา - ๑
เดือนหน้ากิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดลก็จะเริ่มขึ้น
ปีนี้เป็นค่ายที่ ๔๒ ซึ่งจะจัดขึ้นที่โรงเรียนบ้านนาทม อ.กุดชุม จ.ยโสธร
ส่วนพรุ่งนี้ก็จะเป็นวันที่น้องนักศึกษาบางส่วนก็จะเริ่มออกเดินทางไปเตรียมค่าย
คิดแล้วก็เหงื่อแตก รู้สึกร้อนแทน......
กิจกรรมค่ายอาสาฯเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อชีวิตผู้เขียนมาก
เป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตที่มีส่วนหล่อหลอมบุคคลิกผู้ป่วยให้เป็นอย่างทุกวันนี้
แนวความคิดหลายๆอย่างของผู้เขียนก็ได้มาจากค่ายอาสาฯ
เรื่องหนึ่งคือคุณธรรมแห่งการวิพากษ์วิจารณ์...
ผู้เขียนเคยเป็นกรรมการค่ายอยู่ ๓ ครั้ง
ขึ้นชื่อว่าเป็นกรรมการ ก็ต้อง "ประชุม"
ประชุมชี้แจง ประชุมตามงาน ประชุมเตรียมงาน
ทุกสัปดาห์
การประชุมแต่ละครั้งเป็นการทดสอบกำลังใจและกำลังกายของกรรมการค่ายที่เข้มข้นอย่างมาก
คำถามจะถูกตั้งขึ้นมาในแต่ละประเด็นที่ได้พูดคุยกัน
ทั้งจากกรรมการด้วยกันเอง
จากกรรมการที่เป็นรุ่นพี่
และจากรุ่นพี่ที่มาเข้าร่วมประชุมในฐานะพี่ค่าย
ต่อให้ทำดีอย่างไร รู้สึกว่าทำดี หรือผลออกมาดีอย่างไร
กรรมการก็ต้องถูกถามถึงเหตุผลในการตัดสินใจกระทำสิ่งหนึ่งๆ
หรือกำลังจะทำสิ่งหนึ่ง
เหตุผลในการเลือกว่าวิธีนั้นได้ผลจริงหรือ
วิธีนั้นเป็นวิธีเดียวที่มีจริงๆหรือ คิดครบถ้วนหรือยัง
และวิธีนั้นคุ้มที่จะทำแล้วจริงๆหรือ.....
(มีใครคุ้นๆมั้ย)
นอกจากนี้ คนทำดีก็ต้องถูกตรวจสอบได้
คำพูดที่ว่า "ผมทำดีแล้ว พี่จะเอาอะไรอีก" ไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่ชาวค่าย
(แต่คนพูดก็ไม่มีใครทอดทิ้งนะ คุยกันนอกรอบได้......)
ต่อให้คุณเป็นคนดี ทำดีมาขนาดไหน ก็ต้องทำใจยอมรับ
ว่าการกระทำทุกอย่างในค่ายมันต้องมีคำตอบ ให้กับคนที่อยากรู้
การดำเนินการต้องมีเหตุผลเพียงพอ
เพราะเงินที่ได้มาจากสังคม ที่คาดหวังให้เงินนักศึกษาเพื่อพัฒนานักศึกษา
ถ้าทำค่ายแล้วทำงานเหมือนๆเดิม ก็น่าคิดว่าสังคมจะได้อะไรเพิ่มหรือไม่จากการทำค่ายฯ
ดุเดือด ถึงใจ
ได้รับแนวคิดเรื่องคุณธรรมแห่งการวิพากษ์วิจารณ์จากการประชุมค่ายอาสาฯนี่แหละ
ปีนี้เป็นค่ายที่ ๔๒ ซึ่งจะจัดขึ้นที่โรงเรียนบ้านนาทม อ.กุดชุม จ.ยโสธร
ส่วนพรุ่งนี้ก็จะเป็นวันที่น้องนักศึกษาบางส่วนก็จะเริ่มออกเดินทางไปเตรียมค่าย
คิดแล้วก็เหงื่อแตก รู้สึกร้อนแทน......
กิจกรรมค่ายอาสาฯเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อชีวิตผู้เขียนมาก
เป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตที่มีส่วนหล่อหลอมบุคคลิกผู้ป่วยให้เป็นอย่างทุกวันนี้
แนวความคิดหลายๆอย่างของผู้เขียนก็ได้มาจากค่ายอาสาฯ
เรื่องหนึ่งคือคุณธรรมแห่งการวิพากษ์วิจารณ์...
ผู้เขียนเคยเป็นกรรมการค่ายอยู่ ๓ ครั้ง
ขึ้นชื่อว่าเป็นกรรมการ ก็ต้อง "ประชุม"
ประชุมชี้แจง ประชุมตามงาน ประชุมเตรียมงาน
ทุกสัปดาห์
การประชุมแต่ละครั้งเป็นการทดสอบกำลังใจและกำลังกายของกรรมการค่ายที่เข้มข้นอย่างมาก
คำถามจะถูกตั้งขึ้นมาในแต่ละประเด็นที่ได้พูดคุยกัน
ทั้งจากกรรมการด้วยกันเอง
จากกรรมการที่เป็นรุ่นพี่
และจากรุ่นพี่ที่มาเข้าร่วมประชุมในฐานะพี่ค่าย
ต่อให้ทำดีอย่างไร รู้สึกว่าทำดี หรือผลออกมาดีอย่างไร
กรรมการก็ต้องถูกถามถึงเหตุผลในการตัดสินใจกระทำสิ่งหนึ่งๆ
หรือกำลังจะทำสิ่งหนึ่ง
เหตุผลในการเลือกว่าวิธีนั้นได้ผลจริงหรือ
วิธีนั้นเป็นวิธีเดียวที่มีจริงๆหรือ คิดครบถ้วนหรือยัง
และวิธีนั้นคุ้มที่จะทำแล้วจริงๆหรือ.....
(มีใครคุ้นๆมั้ย)
นอกจากนี้ คนทำดีก็ต้องถูกตรวจสอบได้
คำพูดที่ว่า "ผมทำดีแล้ว พี่จะเอาอะไรอีก" ไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่ชาวค่าย
(แต่คนพูดก็ไม่มีใครทอดทิ้งนะ คุยกันนอกรอบได้......)
ต่อให้คุณเป็นคนดี ทำดีมาขนาดไหน ก็ต้องทำใจยอมรับ
ว่าการกระทำทุกอย่างในค่ายมันต้องมีคำตอบ ให้กับคนที่อยากรู้
การดำเนินการต้องมีเหตุผลเพียงพอ
เพราะเงินที่ได้มาจากสังคม ที่คาดหวังให้เงินนักศึกษาเพื่อพัฒนานักศึกษา
ถ้าทำค่ายแล้วทำงานเหมือนๆเดิม ก็น่าคิดว่าสังคมจะได้อะไรเพิ่มหรือไม่จากการทำค่ายฯ
ดุเดือด ถึงใจ
ได้รับแนวคิดเรื่องคุณธรรมแห่งการวิพากษ์วิจารณ์จากการประชุมค่ายอาสาฯนี่แหละ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)