หมอเจ็บเป็นภาพยนตร์ตลกเบาสมองที่ออกฉายในปี 2547 นำแสดงโดย พอล ภัทรพล ศิลปาจารย์(หมอพาย)และจิบบี้ ตะวัน แซ่ตั้ง(หมอถุน) กระแสตอบรับของภาพยนตร์เรื่องนี้นับว่าดี นักศึกษาแพทย์จริงๆก็ชอบ นักเรียนในอินเตอร์เนตหลายคนก็บอกว่าได้รับแรงบันดาลใจจากหนังเรื่อนี้มาก อยากเป็นหมอหลังจากดูภาพยนตร์จบ
เนื้อหา
เรื่องมีอยู่ว่า หมอพายและหมอถุนเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 6 หรือ extern อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์แห่งหนึ่ง (ซึ่งใช้ฉากเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์) ซึ่งหมอทั้งคู่เป็นหมอที่แสบๆคันๆ ไม่เหมือนนักศึกษาแพทย์คนอื่น ถึงแม้ว่าจะทำตัวดูแย่ แต่จิตใจก็เป็นคนดีงาม รักชีวิตเพื่อนมนุษย์ ในปีนี้พวกเขาต้องไปใช้ชีวิตในชนบท และเรียนรู้การอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน การค้นคว้าวิจัย รวมทั้งการอยู่ด้วยกันในสังคม และอื่นๆ ในตอนจบหมอพายต้องตัดสินใจเลือกระหว่างการสอบกับการช่วยเหลือชีวิตคนไข้ ซึ่งเรื่องราวก็จบแบบแฮปปี้เอนด์ดิ้ง ผู้เขียนคิดว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังที่สนุกดี ดูเพลินๆ แฟนของหมอพายก็หน้าตาดี...
จุดบอด
ดูๆไป หนังเรื่องนี้จะมีหมอสุดขั้วอยู่ 2 แบบ คือแบบหมอพาย และหมอถุน คือ ภายนอกดูเลว แต่งตัวไม่เหมือนหมอ เอาแต่ซิ่งมอเตอร์ไซค์ ดูภาพพจน์ไม่ดี มาทำงานก็สาย ตอนเช้าก็ไม่รู้เคส ต้องให้เพื่อนช่วยใบ้ แต่จริงๆแล้ว พวกเขาก็ตั้งใจทำงานเพื่อคนไข้ ถึงแม้จะไม่เคยผ่าตัด ก็พยายามผ่าตัดเพื่อช่วยเหลือชีวิตคนไข้ โดยไม่คิดถึงผลที่ตามมา... โอ้ช่างน่าสรรเสริญ เปรียบเทียบกับหมออีกแบบ คือรูมเมทของพวกเขา และผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่พวกเขาไปอยู่ คือ ใส่แว่น หน้าตาไม่เป็นมิตร ทำงานแบบ "รักษาภาพพจน์" เอาจริงเอาจังกับการเรียน ถึงกับล็อกตู้หนังสือเพื่อไม่ให้เพื่อนรู้ว่าตัวเองใช้หนังสืออะไร พร้อมที่จะโยนความผิดให้กับคนอื่นเวลางานมีแนวโน้มจะผิดพลาด เรื่องที่มีหมอสุดขั้ว 2 แบบ ผู้เขียนรู้สึกว่าเป็นจุดบอดของหนังเรื่องนี้ ซึ่งคล้ายๆกับหนังไทยอีกหลายเรื่องที่เนื้อเรื่องมีแนวโน้มที่จะสุดขั้ว ไม่มีสีเทา หรือคนแบบกลางๆ อยู่ในเรื่อง ทำให้เรื่องดูไม่สมจริง และผู้เขียนเองก็รู้สึกว่าไม่อยากเป็นหมอทั้งสองแบบ ถึงแม้หมอพายกับหมอถุนจะเป็นคนดี แต่เรื่องมาไม่ตรงเวลาเป็นเรื่องที่ผู้เขียนรู้สึกถือสาเป็นอย่างมาก เพราะหมอทำงานกับคนหลายคน ถ้าหมอมาสายสักคน งานหลายๆอย่างจะเริ่มไม่ได้ คนไข้ก็ต้องคอยนานขึ้น พยาบาลและเภสัชกรก็ต้องเลิกงานช้าตาม หมอคนอื่นๆที่มาตรงเวลาก็ต้องโหลดงานมากขึ้น มีแต่ผลเสีย
เป็นหมอเพราะอะไร
นักศึกษาใหม่มักจะถูกตั้งคำถามเวลาสอบเข้า ว่าเลือกเรียนคณะนี้ๆ เพราะอะไร ในเรื่องหมอเจ็บ หมอพายมาเป็นหมอเพราะพี่ชายเห็นว่าอาชีพหมอจำเป็นต่อการใช้ชีวิตในยุคสงคราม เช่นเดียวกับทหาร หมอพายจึงเลือกเรียนหมอตามที่ครอบครัวต้องการ เป็นความเป็นจริงอย่างหนึ่งของสังคมไทยที่หนังแสดงให้เห็น เด็กไทยนั้นมีโอกาสที่จะเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการน้อย เพราะปัจจัยหลายอย่าง ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม หวังว่าในอนาคต เด็กไทยที่เรียนเก่งจะมีทางเลือกมากกว่าหมอ และวิศวกร
เกิดเป็นหมอ
"เกิดเป็นหมอ" เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่งโดยนายแพทย์วรวิทย์ วิศิษฐ์กิจการ หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลวรรณกรรมไทยบัวหลวง ของธนาคารกรุงเทพ ในปีพ.ศ.2519 ผู้เขียนคาดเดาว่าคงเป็นสื่ออีกสื่อที่เป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งในนักเรียน
เลือกเรียนคณะแพทยศาสตร์ พี่หมอในเรื่องเขียนจดหมายมาเล่าเรื่องราวการปฏิบัติงานในชนบทให้กับน้องเล็ก
ฟังเป็นจำนวน 20 ฉบับ มีเนื้อหาหลากหลายตั้งแต่ความสนุก ความประทับใจ ความน่าสลดใจที่พี่หมอมีต่อวงการสาธารณสุข และความขัดแย้งระหว่างพี่หมอ และเพื่อนพี่หมอที่ไม่ได้กลับไปชนบทแบบพี่หมอซึ่งเป็นจุดไคลแมกซ์ของเรื่อง มีคำพูดเด็ดๆหลายคำ เช่น "อุดมคติมันกินไม่ได้หรอก นายมันโง่" "อย่างน้อยก่อนที่เราจะช่วยคนอื่น ก็ต้องช่วยตัวเองก่อน" "ในกรุงเทพฯ นายเป็นเพียงไฟดวงเดียวท่ามกลางความสว่างไสว" "ยังมีคนอื่นที่เขายากแค้นกว่านายมากนัก นายไม่คิดจะช่วยเขาบ้างหรือ" เหตุผลของทั้งสองฝ่ายต่างก็เป็นความจริง
ฉากหนึ่งในเรื่องหมอเจ็บที่ทำให้ผู้เขียนคิดถึงเรื่องเกิดเป็นหมอ คือฉากการเลือกปฏิบัติงานซึ่งแพทย์จบใหม่ทุกคน แม้แต่หมอพายก็เลือกที่จะปฏิบัติงานในพื้นที่มีความเจริญ บางคนถึงกับมีครอบครัวมาให้กำลังใจ แฟนหมอพาย(ที่หน้าตาดี)ก็ออดอ้อนให้หมอพายทำงานในเมืองใหญ่ๆ มีความเจริญ หมอพายก็อยากทำแบบนั้นเพราะอยากร้องคาราโอเกะ ผู้เขียนไม่ได้รู้สึกต่อต้านความคิดแบบนี้ แค่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของ...(อะไรบางอย่าง ที่นึกคำไม่ออก)...ของสังคมไทยเท่านั้น
ผู้หญิงของหมอพาย
ชูชกเคยตรึกตรองไว้ว่า "สตรีนี้เป็นเกาะแก่งกีดกระแสกุศล มีมัจฉริยะมืดมนคือตัวมาร ยามเมื่อสามีจะทำทานมักทำลาย ด้วยแยบคายคอยค้อนติงเข้าทักท้วงให้ทอดทิ้งเสียศรัทธาผล" เหมือนในเรื่องตอนที่แฟนหมอพายพยายามออดอ้อนว่าไม่อยากไปอยู่บ้านนอก เปรียบเทียบกับจีระนันท์ที่ตามเสกสรรค์ไปสู้รบในป่า นี่ก็เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่ผู้เขียนได้จากในภาพยนตร์ ถึงแม้ในกรณีจีระนันท์บางคนจะว่าเธอเสแสร้งก็ตาม (แกล้งทำตัวมีอุดมการณ์ เพื่อหาเรื่องเข้าป่า)
หมอเป็นคนธรรมดา
สิ่งที่สังคมไทยได้รับรู้อย่างหนึ่งในห้วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และหนังเรื่องหมอเจ็บได้มาตอกย้ำ คือแนวคิดที่ว่าหมอมีสถานะเป็นคนธรรมดา ไม่ได้เป็นเทวดา เมื่อเป็นคนธรรมดาก็ไม่แตกต่างจากคนทั่วไป เป็นคนที่ประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเอง และครอบครัว ไม่ใช่เรื่องผิดถ้าจะแสวงหากำไรจากความเจ็บป่วย เป็นเรื่องของการบริการ และการทำธุรกิจ เมื่อเป็นคนธรรมดา ทำผิดก็ต้องรับโทษ ถึงแม้จะไม่ตั้งใจ ถึงแม้จะทำไปด้วยความหวังดี แต่เนื่องจากไม่ได้เป็นเทวดา จึงต้องรับโทษเช่นเดียวกับคนทั่วไป...
ชื่อเรื่องก็เห็นอยู่แล้ว ว่าหมอเป็นคนธรรมดา หมอจึงเจ็บได้...
แนวคิดเหล่านี้ ผู้เขียนเองก็ไม่ได้รู้สึกซีเรียสอะไรมากนัก เพียงแต่อยากจะนำเสนอเพื่อความบันเทิงแบบ pessimistic บ้าง...
วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ความเป็นหมอนี่เอง
ผู้เขียนนึกออกแล้ว
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เปลี่ยนแปลงไป ก็คือ ผู้เขียนเป็นหมอแล้วนี่เอง....
ไปอ่านเจอบทความของนายแพทย์ประเวศ วะสี น่าอ่าน จึงเอามาสรุป และแบ่งปันกัน
ศักยภาพของแพทย์
สถานะ 4 อย่างที่ทำให้หมอเหนือกว่าคนทั่วไป
1. ฐานะทางเศรษฐกิจ ถึงแม้จะไม่ร่ำรวย แต่ก็ไม่มีวันจน
2. สติปัญญา
3. สถานภาพทางสังคม
เพราะ ข้อ 1,2,3 แพทย์จึงสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้มากกว่าประชาชนที่ต้องหาเลี้ยงปากท้องไปวันๆ
4. มีทางเลือก สามารถทำประโยชน์ได้หลายด้าน ทั้งการบริการ การวิจัย การให้การศึกษา
เพราะสถานะทั้ง 4 อย่างของแพทย์ ทำให้แพทย์มีศักยภาพสูงในการสร้างความสุข และเสริมสร้างสุขภาพให้กับสังคม
น่าสนใจและน่านำไปปฏิบัติครับ...
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เปลี่ยนแปลงไป ก็คือ ผู้เขียนเป็นหมอแล้วนี่เอง....
ไปอ่านเจอบทความของนายแพทย์ประเวศ วะสี น่าอ่าน จึงเอามาสรุป และแบ่งปันกัน
ศักยภาพของแพทย์
สถานะ 4 อย่างที่ทำให้หมอเหนือกว่าคนทั่วไป
1. ฐานะทางเศรษฐกิจ ถึงแม้จะไม่ร่ำรวย แต่ก็ไม่มีวันจน
2. สติปัญญา
3. สถานภาพทางสังคม
เพราะ ข้อ 1,2,3 แพทย์จึงสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้มากกว่าประชาชนที่ต้องหาเลี้ยงปากท้องไปวันๆ
4. มีทางเลือก สามารถทำประโยชน์ได้หลายด้าน ทั้งการบริการ การวิจัย การให้การศึกษา
เพราะสถานะทั้ง 4 อย่างของแพทย์ ทำให้แพทย์มีศักยภาพสูงในการสร้างความสุข และเสริมสร้างสุขภาพให้กับสังคม
น่าสนใจและน่านำไปปฏิบัติครับ...
วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
สิ่งนี้มันคืออะไร
นับเวลาจากวันที่ผู้เขียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี
จนถึงวันนี้ก็ประมาณ 2 เดือน
ผู้เขียนรู้สึกได้ถึงบางอย่างที่เปลี่ยนไป
ไม่แน่ใจว่าความรู้สึกแปลกๆนี้คืออะไร
ความรู้สึกว่าคนอื่นก็คือคนธรรมดาๆ
ส่วนตัวผู้เขียนนั้นเป็นหมอ...
มีคนมาเรียกผู้เขียนว่าเป็นหมออย่างเต็มปากเต็มคำ
ไม่ได้เรียกหมอบ้าง เอ็กซ์เทิร์นบ้าง นอสอพอบ้าง แบบเมื่อวันเก่าๆ...
ผู้เขียนเริ่มรู้สึกว่าถึงหมวกอีกใบ...
ในยามที่พบกันครั้งแรกกับประชาชนคนเดินดิน ผู้เขียนจะถูกเรียกว่าหมอ
ไม่ได้ถูกเรียกว่าพี่ๆ หรือน้องคนนั้นอีกต่อไป
นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล...
ต่อให้เป็นนอกโรงพยาบาล
ผู้เขียนรู้สึกได้ถึงความมั่นใจบางอย่าง
ที่ทำให้เหนือกว่าคนทั่วไป...
อืมมม สิ่งนี้มันคืออะไรกันนะ...
จนถึงวันนี้ก็ประมาณ 2 เดือน
ผู้เขียนรู้สึกได้ถึงบางอย่างที่เปลี่ยนไป
ไม่แน่ใจว่าความรู้สึกแปลกๆนี้คืออะไร
ความรู้สึกว่าคนอื่นก็คือคนธรรมดาๆ
ส่วนตัวผู้เขียนนั้นเป็นหมอ...
มีคนมาเรียกผู้เขียนว่าเป็นหมออย่างเต็มปากเต็มคำ
ไม่ได้เรียกหมอบ้าง เอ็กซ์เทิร์นบ้าง นอสอพอบ้าง แบบเมื่อวันเก่าๆ...
ผู้เขียนเริ่มรู้สึกว่าถึงหมวกอีกใบ...
ในยามที่พบกันครั้งแรกกับประชาชนคนเดินดิน ผู้เขียนจะถูกเรียกว่าหมอ
ไม่ได้ถูกเรียกว่าพี่ๆ หรือน้องคนนั้นอีกต่อไป
นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล...
ต่อให้เป็นนอกโรงพยาบาล
ผู้เขียนรู้สึกได้ถึงความมั่นใจบางอย่าง
ที่ทำให้เหนือกว่าคนทั่วไป...
อืมมม สิ่งนี้มันคืออะไรกันนะ...
วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
คำถามว่าด้วยการทำงาน
ผู้เขียนรู้สึกสงสัย (ตั้งแต่เป็นนศพ.)
สงสัยเรื่องเกี่ยวกับการทำงานในสายวิชาชีพแพทย์
สงสัยว่าจริงๆแล้วการคิดแบบใดกันแน่ที่ถูกต้อง
ระหว่าง
๑) แพทย์รุ่นพี่อายุมากแล้ว เหนื่อยมามาก สมควรพักผ่อน
ช่วยเหลือประชาชนชาวไทยโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
การทำงานหนักให้เป็นหน้าที่ของแพทย์รุ่นน้อง
แพทย์รุ่นน้องเต็มใจที่จะอยู่เวรให้ หรืออยู่เวรแทนด้วยซ้ำ
๒) แพทย์รุ่นพี่ทำงานมามาก ย่อมมีประสบการณ์เหนือผู้อื่น
น่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษาแพทย์ หรือแพทย์รุ่นใหม่ๆได้
ดังนั้นจึงควรทำงานต่อไป และสอนน้องให้มาก
ใช้ประสบการณ์ที่มี ถ่ายทอดรุ่นน้องให้เต็มที่ เพื่อพัฒนาวงการสาธารณสุขต่อไป
บางทีปัจจัยที่จะทำให้คิดแบบใดก็ขึ้นกับสื่งที่แพทย์คนนั้นๆเคยทำไว้ด้วยกระมัง....
สงสัยเรื่องเกี่ยวกับการทำงานในสายวิชาชีพแพทย์
สงสัยว่าจริงๆแล้วการคิดแบบใดกันแน่ที่ถูกต้อง
ระหว่าง
๑) แพทย์รุ่นพี่อายุมากแล้ว เหนื่อยมามาก สมควรพักผ่อน
ช่วยเหลือประชาชนชาวไทยโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
การทำงานหนักให้เป็นหน้าที่ของแพทย์รุ่นน้อง
แพทย์รุ่นน้องเต็มใจที่จะอยู่เวรให้ หรืออยู่เวรแทนด้วยซ้ำ
๒) แพทย์รุ่นพี่ทำงานมามาก ย่อมมีประสบการณ์เหนือผู้อื่น
น่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษาแพทย์ หรือแพทย์รุ่นใหม่ๆได้
ดังนั้นจึงควรทำงานต่อไป และสอนน้องให้มาก
ใช้ประสบการณ์ที่มี ถ่ายทอดรุ่นน้องให้เต็มที่ เพื่อพัฒนาวงการสาธารณสุขต่อไป
บางทีปัจจัยที่จะทำให้คิดแบบใดก็ขึ้นกับสื่งที่แพทย์คนนั้นๆเคยทำไว้ด้วยกระมัง....
วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
อุดมการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
อย่างที่ได้เคยให้ความเห็นว่าอุดมการณ์สำหรับคนสมัยนี้(คนที่ให้ความเห็นตามเวบบอร์ด)เป็นเรื่องไม่พึงปรารถนาไปเสียแล้ว ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากประสบการณ์ของตัวผู้เขียนเอง
เมื่อตอนสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ได้ใหม่ๆ ผู้เขียนมาสอบสัมภาษณ์ตามปรกติ หลังสอบสัมภาษณ์เสร็จ นักศึกษาแพทย์รุ่นพี่ก็ได้เข้ามาทำความรู้จักและพูดคุยกับผู้เขียน ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึกประหลาดใจคือ รุ่นพี่ถามว่าได้แต่งเรื่องสาเหตุที่มาเรียนแพทย์ให้อาจารย์ฟังว่าอย่างไรบ้าง ฟังดูตอนนั้นผู้เขียนรู้สึกเฉยๆ และการพูดคุยก็เป็นไปด้วยความสนุกสนาน แต่ในปัจจุบันเมื่อผู้เขียนมองย้อนกลับไป นี่แสดงว่าโลกทัศน์ของนักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่าความต้องการที่จะมาเรียนแพทย์ของตัวเองนั้นไม่ได้สวยหรูเท่าไหร่นัก จึงต้องแต่งเรื่องเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับการสัมภาษณ์ หรืออาจเป็นไปได้ว่าผู้เขียนมองโลกแคบไม่ได้คุยกับคนเยอะในช่วงนั้นทำให้เข้าใจเรื่องต่างๆไม่ตรงกับความเป็นจริง
ความน่าสนใจอยู่ที่สังคมคาดหวังว่าแพทย์จะต้องเสียสละให้กับสังคม ในขณะที่แพทย์ส่วนหนึ่ง (และกำลังมากขึ้น)เห็นว่าแพทย์ควรมีสิทธิในการปฏิเสธคนไข้ถ้าอยู่ในสภาวะไม่พร้อมเช่น กำลังพักผ่อน (คนละประเด็นกับเรื่องการ refer หรือส่งต่อ)ถ้ามองย้อนไปไกลๆก็จะเห็นว่าสาเหตุจริงๆๆๆ ที่นักเรียนส่วนหนึ่งมาเรียนแพทย์ก็เนื่องจากสอบได้คะแนนสูง และไม่มีที่ไป บางส่วนอาจเห็นว่าอาชีพแพทย์มีรายได้ดี ความสวนทางกันระหว่างความคาดหวังของสังคมกับความต้องการของแพทย์คงเป็นประเด็นใหญ่ที่มีเรื่องให้อภิปรายได้เรื่อยๆ และอีกนาน
ในช่วงทศวรรษที่หกสิบ ปี 1963 ประเทศจีนมี idol ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง (หรือถูกบังคับให้เป็นที่นิยม?)คือ สหายเหล่ยเฟย (Lei Feng) สหายผู้นี้เป็นตัวอย่างของชายจีน เป็นตัวแทนของเหล่าชนชั้นกรรมาชีพ ตอนกลางคืนสหายเหล่ยเฟยจะคอยแแอบขัดรองเท้าให้กับบรรดาสหายคนอื่นๆ สหายเหล่ยเฟยทำงานหนักและแบ่งเงินไปให้ผู้ทุกข์ยาก และฝันถึงแต่ประธานเหมา แทนที่จะฝันถึงหญิงสาว เหล่านี้พบได้ในแบบเรียน Learn from Comrade Lei Feng
เทียบกับสังคมจีนยุคปัจจุบันหลังยุคประธานเหมา idol ก็คงเปลี่ยนเป็นดาราวัยรุ่น เช่น ... ซึ่งผู้เขียนไม่รู้จักชื่อ แต่คงร้องเพลงเพราะ และรายล้อมด้วยสาวๆหน้าตาใสๆ
เมื่อตอนสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ได้ใหม่ๆ ผู้เขียนมาสอบสัมภาษณ์ตามปรกติ หลังสอบสัมภาษณ์เสร็จ นักศึกษาแพทย์รุ่นพี่ก็ได้เข้ามาทำความรู้จักและพูดคุยกับผู้เขียน ประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึกประหลาดใจคือ รุ่นพี่ถามว่าได้แต่งเรื่องสาเหตุที่มาเรียนแพทย์ให้อาจารย์ฟังว่าอย่างไรบ้าง ฟังดูตอนนั้นผู้เขียนรู้สึกเฉยๆ และการพูดคุยก็เป็นไปด้วยความสนุกสนาน แต่ในปัจจุบันเมื่อผู้เขียนมองย้อนกลับไป นี่แสดงว่าโลกทัศน์ของนักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่าความต้องการที่จะมาเรียนแพทย์ของตัวเองนั้นไม่ได้สวยหรูเท่าไหร่นัก จึงต้องแต่งเรื่องเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับการสัมภาษณ์ หรืออาจเป็นไปได้ว่าผู้เขียนมองโลกแคบไม่ได้คุยกับคนเยอะในช่วงนั้นทำให้เข้าใจเรื่องต่างๆไม่ตรงกับความเป็นจริง
ความน่าสนใจอยู่ที่สังคมคาดหวังว่าแพทย์จะต้องเสียสละให้กับสังคม ในขณะที่แพทย์ส่วนหนึ่ง (และกำลังมากขึ้น)เห็นว่าแพทย์ควรมีสิทธิในการปฏิเสธคนไข้ถ้าอยู่ในสภาวะไม่พร้อมเช่น กำลังพักผ่อน (คนละประเด็นกับเรื่องการ refer หรือส่งต่อ)ถ้ามองย้อนไปไกลๆก็จะเห็นว่าสาเหตุจริงๆๆๆ ที่นักเรียนส่วนหนึ่งมาเรียนแพทย์ก็เนื่องจากสอบได้คะแนนสูง และไม่มีที่ไป บางส่วนอาจเห็นว่าอาชีพแพทย์มีรายได้ดี ความสวนทางกันระหว่างความคาดหวังของสังคมกับความต้องการของแพทย์คงเป็นประเด็นใหญ่ที่มีเรื่องให้อภิปรายได้เรื่อยๆ และอีกนาน
ในช่วงทศวรรษที่หกสิบ ปี 1963 ประเทศจีนมี idol ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง (หรือถูกบังคับให้เป็นที่นิยม?)คือ สหายเหล่ยเฟย (Lei Feng) สหายผู้นี้เป็นตัวอย่างของชายจีน เป็นตัวแทนของเหล่าชนชั้นกรรมาชีพ ตอนกลางคืนสหายเหล่ยเฟยจะคอยแแอบขัดรองเท้าให้กับบรรดาสหายคนอื่นๆ สหายเหล่ยเฟยทำงานหนักและแบ่งเงินไปให้ผู้ทุกข์ยาก และฝันถึงแต่ประธานเหมา แทนที่จะฝันถึงหญิงสาว เหล่านี้พบได้ในแบบเรียน Learn from Comrade Lei Feng
เทียบกับสังคมจีนยุคปัจจุบันหลังยุคประธานเหมา idol ก็คงเปลี่ยนเป็นดาราวัยรุ่น เช่น ... ซึ่งผู้เขียนไม่รู้จักชื่อ แต่คงร้องเพลงเพราะ และรายล้อมด้วยสาวๆหน้าตาใสๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)